Page 64 - Management_agricultural_drought_2561
P. 64

56



               5.2     การเตรียมความพร้อม
                       เหตุการณ์และช่วงของการเตรียมความพร้อม แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

                       5.2.1 ช่วงก่อนเกิดภัย เป็นช่วงที่มีการเริ่มเข้าสู่สถานการณ์เสี่ยงต่อภัย ต้องดําเนินการการ
               เตรียมพร้อมรับภัย ในช่วงนี้ จะต้องมีการเตรียมตัวของราษฎร ซักซ้อม และทําความเข้าใจ เตรียมกักเก็บน้ํา
               เพื่อการอุปโภค/บริโภคให้เพียงพอ ขุดลอกคู คลอง และบ่อน้ําบาดาล เพื่อเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ํา วางแผนใช้
               น้ําอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ําใช้ตลอดห้วงภัยแล้ง  การใช้น้ําเพื่อการเกษตร ควรใช้ในช่วงเช้า และเย็นเพื่อลด

               อัตราการระเหยน้ํา เป็นต้น
                            คาดการณ์พื้นที่ทําการเกษตรที่มีโอกาสเกิดภัยแล้ง เป็นการวิเคราะห์ภัยที่อาจเกิดขึ้น เพื่อใช้ในการ
               จัดทําแผนเตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ทําการเกษตร ซึ่งเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการเพาะปลูกในพื้นที่นั้น ๆ
               สําหรับการเกิดความแห้งแล้งของประเทศไทยจะเกิดขึ้น 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็น

               ช่วงฤดูแล้ง ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นประจําทุกปี และ ช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม จะเกิดจากฝนทิ้งช่วง
               และเกิดขึ้นเฉพาะบางพื้นที่
                            การคาดการณ์ว่าพื้นที่ทําการเกษตรที่มีโอกาสเกิดภัยแล้ง  วิเคราะห์จากข้อมูลพื้นที่เสี่ยง  3 ด้าน
               ได้แก่ พื้นที่เสี่ยงด้านอุตุนิยมวิทยา พื้นที่เสี่ยงด้านสภาพพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดสภาวะแห้งแล้ง และ พื้นที่เสี่ยงด้าน

               สถิติพื้นที่ประสบความแห้งแล้ง มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ เพื่อกําหนดขอบเขตและจําแนกความรุนแรง
               ของความแห้งแล้ง โดยจําแนกออกเป็น 3 ระดับ คือ
                            ระดับที่ 1 พื้นที่ที่จะประสบความแห้งแล้งสูง คือ พื้นที่เสี่ยงที่มีความเสี่ยงครบ 3 ด้าน

                            ระดับที่ 2 พื้นที่ที่จะประสบความแห้งแล้งปานกลาง คือ พื้นที่เสี่ยงที่มีความเสี่ยง 2 ด้าน
                            ระดับที่ 3 พื้นที่ที่จะประสบความแห้งแล้งต่ํา คือ พื้นที่เสี่ยงที่มีความเสี่ยง 1 ด้าน
                            พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งสูง และ พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแห้งแล้งปานกลาง เป็นพื้นที่ที่
               ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ต้องเตรียมรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น ต้องมีการกําหนดมาตรการเพื่อช่วยบรรเทา
               และลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อพื้นที่การเกษตร

                            จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ พบว่า ช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ.2560 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561
               พื้นที่ทําการเกษตรที่มีโอกาสเกิดภัยแล้งของประเทศไทย พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ และเป็นพื้นที่ที่ต้องเตรียม
               รับมือกับปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นครอบคลุมพื้นที่ 54 จังหวัด คิดเป็นเนื้อที่ 7.05 ล้านไร่ (ตารางที่ 5.2 ภาพที่ 5.2)

               ตารางที่ 5.2 พื้นที่ทําการเกษตรนอกเขตชลประทานที่มีโอกาสเกิดแล้งช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึง

               เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561


                  ระดับความรุนแรง                                 เนื้อที่ (ไร่)
                 ของโอกาสที่จะเกิด
                   ความแห้งแล้ง      เหนือ   ตะวันออกเฉียงเหนือ   กลาง      ตะวันออก    ใต้        รวม

                        สูง        1,070,881     2,793,387      1,595,231   337,560   729822    6,526,881


                     ปานกลาง        165,166       46,241         125,714    109,034   83,854     530,009


                       รวม         1,236,047     2,839,628      1,720,945   446,594   813,676   7,056,890
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69