Page 61 - Management_agricultural_drought_2561
P. 61

บทที่ 5


                                               การป้องกันและลดผลกระทบ


                        ปัจจุบันกรอบแนวคิดการดําเนินงานเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ ด้านการบริหารจัดการสาธารณภัยของ

               โลกได้เปลี่ยนแปลงจากแนวคิดในอดีตมุ่งเน้น การจัดการภัยเมื่อภัยเกิดขึ้นแล้ว มาเป็นการให้ความสําคัญกับ
               การดําเนินการเชิงรุก โดยใช้แนวทางการจัดการความเสี่ยงจากภัย ซึ่งเป็นการจัดการกับปัจจัยที่ทําให้เกิดความ
               เสี่ยงผ่านมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยทําให้ผลกระทบที่อาจเกิดจากภัยให้ลดน้อยลงที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ โดยให้
               ความสําคัญกับมาตรการป้องกันและลดผลกระทบมาตรการเตรียมความพร้อม และมาตรการเสริมสร้าง

               ศักยภาพและความสามารถของชุมชนในพื้นที่เสี่ยงมากขึ้น เพื่อให้สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่าง
               มีประสิทธิภาพ
                        ประเทศไทยได้นํากรอบแนวคิดการจัดการความเสี่ยงจากภัย มาใช้ในการวางแผนการป้องกันและ

               บรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งเป็นแผนหลักในการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศ และนํา
               แนวคิดดังกล่าวมาเป็นกรอบแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่ทําการเกษตรเสี่ยงต่อการเกิดภัย ได้อย่างมี
               ประสิทธิภาพ

               5.1     การประเมินพื้นที่เกษตรเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง
                       การป้องกันและลดผลกระทบ โดยการประเมินความเสี่ยง เป็นวิธีการระบุลักษณะความรุนแรงและ

               โอกาสในการเกิดผลกระทบทางลบจากภัย โดยวิเคราะห์ภัยที่อาจเกิดขึ้น ความล่อแหลมที่มีในพื้นที่ศึกษา และ
               ประเมินสภาพความเปราะบาง ณ ขณะนั้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทําให้เกิดอันตรายต่อคน ทรัพย์สิน บริการ
               การดํารงชีวิต และสิ่งแวดล้อม (UNISR  2009)  เป็นกระบวนการที่มีลําดับขั้นตอนชัดเจน เป็นระบบ และ
               โปร่งใส เป็นข้อมูลพื้นฐานสําคัญสําหรับการวางแผนพัฒนาและตัดสินใจที่มีการคํานึงถึงความเสี่ยง สามารถ

               นําไปปฏิบัติได้ในหลายระดับ เช่น ระดับภูมิภาค ระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และระดับชุมชน
                       การเกิดภัยแล้งนั้นอาจมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันออกไปในด้านพื้นที่ และความเสียหายที่
               เกิดขึ้น ดังนั้นปัจจัยที่เป็นตัวบ่งชี้ในเชิงพื้นที่ ก็คือ พื้นที่ที่เกิดขึ้นเป็นประจํา และพื้นที่หรือชุมชนที่ได้รับความ
               เสียหายนั่นเอง

                       พื้นที่แล้งซ้ําซาก เป็นพื้นที่ที่บ่งบอกถึงความล่อแหลม ความเปราะบาง ที่บริเวณนั้นอาจเกิดสภาพขาด
               แคลนน้ํา สูงกว่าปกติ และมีระยะเวลานานกว่าปกติ จนสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่เกษตรกรรมได้
                       การวิเคราะห์พื้นที่แล้งซ้ําซาก จากข้อมูลเชิงพื้นที่ ข้อมูลสถิติ และข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อ
               กําหนดขอบเขตและการจําแนกระดับความบ่อยครั้งของการเกิดความแห้งแล้ง สามารถออกเป็น 3 ระดับ คือ

               เกิดซ้ํา 6 ครั้งขึ้นไปในรอบ 10 ปี เกิดซ้ํา 4-5 ครั้งในรอบ 10 ปี และเกิดซ้ําไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี ประเทศ
               ไทยมีพื้นที่ที่เกิดภัยแล้งอยู่เป็นประจํา หรือที่เรียกว่า พื้นที่แล้งซ้ําซาก ครอบคลุมพื้นที่ 70 จังหวัด คิดเป็นเนื้อ
               ที่ 56.91 ล้านไร่ (ตารางที่ 5.1 ภาพที่ 5.1) ดังรายละเอียด
                       1) พื้นที่แล้งซ้ําซาก เกิดซ้ํา 6  ครั้งในรอบ 10  ปี มีเนื้อที่ประมาณ 2,620,064 ไร่ พบมากที่สุดใน

               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ 1,583,762 ไร่ รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ มีเนื้อที่ 986,744 ไร่ ภาคกลาง มี
               เนื้อที่ 47,193 ไร่ และภาคตะวันออก มีเนื้อที่ 2,365 ไร่
                       2) พื้นที่แล้งซ้ําซาก เกิดซ้ํา 4-5 ครั้งในรอบ 10 ปี มีเนื้อที่ประมาณ 18,629,561 ไร่ พบมากที่สุดใน
               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ 14,827,644 ไร่ รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ มีเนื้อที่ 2,722,681 ไร่ ภาคกลาง

               มีเนื้อที่ 852,764 ไร่ ภาคตะวันออก มีเนื้อที่ 161,503 ไร่และภาคใต้ มีเนื้อที่ 64,949 ไร่
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66