Page 15 - Management_agricultural_drought_2561
P. 15

9



                        2.3.2  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน ประกอบดวย 19 จังหวัด ไดแก จังหวัดกาฬสินธุ
               ขอนแกน ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร รอยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ

               สกลนคร  สุรินทร  หนองคาย  หนองบัวลําภู  อํานาจเจริญ  อุดรธานี  และอุบลราชธานี มีพื้นที่ประมาณ
               105,533,963 ไร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ
                        ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาคยกตัวสูงเปนขอบแยกตัวออกจากภาคอื่นอยางชัดเจน มี
               ทิวเขาใหญกั้นอยูโดยรอบทางดานทิศตะวันตกและทางทิศใต มีภูเขาขนาดเล็กอยูประปรายภายในของภาค ทางทิศ

               ตะวันตกของภาคมีทิวเขาใหญ 2 ทิว ทอดยาวติดตอจากเหนือลงมาทางใต คือ ทิวเขาเพชรบูรณทางตอนเหนือและ
               ทิวเขาดงพญาเย็นทางตอนใต ทิวเขาทั้งสองนี้กั้นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาคเหนือ ภาคกลาง และภาค
               ตะวันออก มีความสูงเฉลี่ย 500 - 1,000 เมตรจากระดับน้ําทะเลปานกลาง มียอดเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสาน คือ ยอด
               ภูหลวงมีความสูง 1,571 เมตรจากระดับน้ําทะเลปานกลาง ทางทิศใตของภาคมีทิวเขาใหญอีก 2 ทิว ทอดยาวจากทาง

               ทิศตะวันตกตอไปตลอดเขตแดนประเทศราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คือ ทิว
               เขาสันกําแพงและทิวเขาพนมดงรัก พื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเปนที่ราบมีชื่อเรียกวา ที่ราบสูงโคราช โดยมีขอบสูงใน
               บริเวณทิวเขาทางทิศตะวันตกและทิศใต และคอยลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกสูแมน้ําโขง บริเวณตอนในคอนไปทาง
               ตะวันออกเฉียงเหนือยังมีทิวเขาเตี้ยๆ เรียกวา ทิวเขาภูพาน และมีภูเขากระจัดกระจายไมเปนทิวเขา ทํา ใหลักษณะ

               พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเปนแองที่ราบใหญ 2 ตอน คือ แองสกลนครและแองโคราช
                        2.3.3  ภาคกลางประกอบดวย 18 จังหวัด และ 1 เขตการปกครองพิเศษ ไดแก จังหวัดกาญจนบุรี
               ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี

               สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงหบุรี สุพรรณบุรี และอางทอง สวนกรุงเทพมหานครไม
               นับวาเปนจังหวัดเนื่องจากเปนเขตการปกครองพิเศษ มีพื้นที่ ประมาณ 43,450,440 ไร
                        ภูมิประเทศมีลักษณะเปนที่ราบลุมที่เกิดจากการที่แมน้ําพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวดทราย และ
               ตะกอนมาทับถมพอกพูนมาเปนเวลานาน ระดับพื้นที่มีลักษณะลาดลงมาทางใต พื้นที่ราบสวนใหญมีความสูง
               โดยประมาณนอยกวา 80 เมตรจากระดับน้ําทะเลปานกลาง มีภูเขาเตี้ยๆ เกิดขึ้น แตไมมากนัก โดยทางทิศ

               ตะวันตกมีเทือกเขาตะนาวศรีทอดเปนแนวกั้นพรมแดนระหวางประเทศไทยกับสหภาพพมา  มีความสูงจาก
               ระดับน้ําทะเลปานกลางเกินกวา  1,650  เมตร  ทางดานตะวันออกมีเทือกเขาดงพญาเย็นและเทือกเขาสันกํา
               แพงเปนเสนแบงเขตระหวางภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                        2.3.4  ภาคตะวันออก ประกอบดวย 7 จังหวัด ไดแก จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด
               ปราจีนบุรี ระยอง และสระแกว มีพื้นที่ประมาณ 21,487,812 ไร
                        ภูมิประเทศมีลักษณะเปนภูเขา  แนวเทือกเขา  ที่ราบแคบๆ  และชายฝงทะเล  ทางตอนเหนือของภาคมี
               เทือกเขาสันกําแพงและเขาพนมดงรัก ทอดในแนวตะวันตก-ตะวันออก เปนเสนกั้นเขตระหวางภาคตะวันออกกับภาค

               ตะวันออกเฉียงเหนือ  ทางดานตะวันออกของภาคมีเทือกเขาบรรทัดเปนเสนกั้นพรมแดนระหวางประเทศไทยกับ
               ราชอาณาจักรกัมพูชาที่จังหวัดตราด  ถัดมามีเทือกเขาจันทบุรีอยูในแนวจังหวัดชลบุรีและจันทบุรี  ทองทะเล
               ตะวันออกเต็มไปดวยกลุมเกาะนอยใหญหลายแหงที่สําคัญ ไดแก เกาะชาง เกาะหมาก เกาะกูด ในจังหวัดตราด เกาะ
               เสม็ด เกาะมันใน ในจังหวัดระยอง เกาะลาน เกาะสีชัง ในจังหวัดชลบุรี

                        2.3.5  ภาคใต ประกอบดวย 14 จังหวัด ไดแก จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส
               ปตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และสุราษฎรธานี มีเนื้อที่รวมประมาณ 44,196,992 ไร
               จังหวัดที่ใหญที่สุด คือ จังหวัดสุราษฎรธานี และจังหวัดที่เล็กที่สุด คือ จังหวัดภูเก็ต ทุกจังหวัดของภาคมีอาณา
               เขตติดตอกับทะเล ยกเวนจังหวัดยะลา
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20