Page 48 - น้ำท่วมซ้ำซาก 7 จังหวัดภาคเหนือ ปรับปรุงปี2557
P. 48

36


                       5.3.4 มีการบริหารจัดการน้้าที่ดี ให้ระบบควบคุมอันได้แก่ เขื่อน อ่างเก็บน้้า ฝายทดน้้า หรือประตู

               ระบายน้้าฯ ให้เป็นประโยชน์ในการป้องกันการเกิดอุทกภัย โดยไม่เป็นสาเหตุของการเกิดอุทกภัยเสียเอง
               5.4 มาตรการและแนวทางการจัดการพื นที่น ้าท่วมซ ้าซาก

                       การป้องกันและจัดการกับปัญหาน้้าท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจ้าทุกปี จ้าเป็นต้องมีการก้าหนดมาตรการ

               ที่ชัดเจน ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาการบริการจัดการน้้าของประเทศไทยด้าเนินการในเชิงตั้งรับ กล่าวคือการใช้แนวคิด
               โดยเน้นไปที่การช่วยเหลือ บรรเทา และฟื้นฟูบูรณะขณะที่เกิดภัยพิบัติและภายหลังเกิดภัยพิบัติ แต่ในปัจจุบัน

               การเกิดภัยพิบัติมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มมากขึ้น การบริหารจัดการภัยจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เกิดการปฏิบัติในเชิงรุก

               เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมรับมือภัยที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที โดยตั้งเป้าหมายในการลดความรุนแรง
               และลดผลกระทบจากภัยพิบัติให้มากที่สุด ซึ่งจะเน้นการป้องกันทั้งมาตรการที่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการที่ไม่ใช้

               สิ่งก่อสร้าง และมีการเตรียมความพร้อมทั้งในส่วนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเข้มแข็งและ
               ต่อเนื่อง เพื่อให้พื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้อยที่สุด สามารถด้าเนินการได้หลายวิธีได้แก่

                       5.4.1 การสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้้าขนาดกลางเก็บน้้าไว้ทางต้นน้้าเพื่อเก็บกักปริมาณน้้าหลากไว้

               ซึ่งนอกจากจะช่วยป้องกันอุทกภัยแล้ว ยังสามารถน้ามาใช้ประโยชน์ในฤดูแล้งได้อีกด้วย
                       5.4.2 การสร้างคันกั้นน้้า เพื่อป้องกันพื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง วิธีนี้แม้จะ

               ช่วยป้องกันน้้าท่วมพื้นที่เป้าหมายได้ แต่จะท้าให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่อื่นๆ ซึ่งต้องรับปริมาณน้้ามากกว่าเดิม
               และท้าให้ระดับน้้าในล้าน้้าสูงขึ้นกว่าเดิมด้วย

                      5.4.3 การระบายน้้าเข้าไปเก็บกักในพื้นที่ลุ่มต่้า วิธีนี้จะคล้ายกับสภาพธรรมชาติที่เมื่อเกิดน้้าท่วมขึ้น

               น้้าจะไหลแผ่กระจายเข้าสู่ที่ลุ่มต่างๆ หากสามารถหาพื้นที่ลุ่มเพื่อช่วยแบ่งน้้าออกไปจะช่วยลดปริมาณน้้าหลาก
               ในล้าน้้าได้มาก ท้าให้บรรเทาปัญหาอุทกภัยแก่พื้นที่ท้ายน้้าได้

                      5.4.4 การปรับปรุงสภาพล้าน้้า เพื่อช่วยให้น้้าสามารถไหลตามล้าน้้าได้สะดวก หรือให้กระแสน้้าที่ไหล
               มีความเร็วเพิ่มขึ้น เพื่อที่ในฤดูน้้าหลากน้้าจ้านวนมากที่ไหลตามล้าน้้าจะได้มีระดับลดต่้าลงไปจากเดิมเป็นการช่วย

               บรรเทาความเสียหายเนื่องจากน้้าท่วมได้เป็นอย่างดี

                      5.4.5 เพิ่มทางผันน้้าออกสู่ทะเลให้มากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มทางระบายน้้าลงสู่ทะเลทั้งโดยการใช้ระบบ
               คลองระบายที่มีอยู่หรือการขุดคลองขนาดใหญ่ขึ้นมาเพื่อให้มีความสามารถระบายน้้าได้มากขึ้น

                      5.4.6  การสูบน้้าออกจากพื้นที่ เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้้าที่ไหลออกสู่ทะเลให้มากขึ้น รวมทั้งการเพิ่ม
               ความเร็วแรงน้้าโดยการติดตั้งเครื่องผลักดันน้้า

                      5.4.7 การสร้างแหล่งเก็บกักน้้าและระบายน้้าออกให้สอดคล้องกับการขึ้นลงของน้้าทะเลหรือ

               การด้าเนินการตามโครงการแก้มลิง
                      5.4.8 การสร้างประตูระบายปิดกั้นน้้าทะเลบริเวณปากแม่น้้าเพื่อลดอิทธิพลของน้้าทะเลหนุน

                      5.4.9  การพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาน้้าท่วมโดยใช้มาตรการทางผังเมืองร่วม และการใช้ประโยชน์
               ที่ดินในอนาคต ให้สอดคล้องกับโครงการป้องกันน้้าท่วมที่หน่อยงานต่างๆจะได้ด้าเนินการจัดท้าแผนบูรณาการ

               ระยะยาวต่อไป
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53