Page 76 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 76

66



               6. การคำนวณค่าการสูญเสียดิน
                  คำนวณค่าการสูญเสียดินโดยใช้โปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ ช่วยในการจัดการข้อมูลและทำแผนที่ตาม

               แบบจำลองคณิตศาสตร์ของตามสมการการสูญเสียดินสากล (USLE) ของ Wischmeier and Smith (1978)
                      A = RKLSCP
               เมื่อ   A คือ ปริมาณการสูญค่าเฉลี่ยปริมาณ ๆ การสูญเสียดินต่อหน่วยพื้นที่ (Soil Loss)
                       R คือ ค่าปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน (Rainfall and runoff erosivity factor)

                       K คือ ค่าปัจจัยความคงทนต่อการสูญเสียดิน (Soil erodibility factor)
                       L คือ ค่าปัจจัยความยาวของความลาดเท Slope length factor)
                       S คือ ค่าปัจจัยความชัน (Slope steepness factor)

                       C คือ ค่าปัจจัยการจัดการพืช (Crop management factor)
                       P คือ ค่าปัจจัยการป้องกันการพังทลายของดิน (Conservation practice factor)

                  คำนวณค่าการสูญเสียดินตามสมการการสูญเสียดิน โดยนำเข้าข้อมูลทั้ง 6 ปัจจัยในโปรแกรมสารสนเทศ
               ภูมิศาสตร์ มาคูณกัน แล้วหารด้วย 6.25 (1 เฮกแตร์ = 6.25 ไร่) โดยใช้คำสั่ง Raster calculator ผลที่ได้ คือ
               ปริมาณการสูญเสียดิน หน่วยเป็นตันต่อไร่ต่อปี ค่าการสูญเสียดินที่ได้จากสมการการสูญเสียดินสากลข้างต้น เป็น

               ค่าการสูญเสียดินตามสภาพการใช้ที่ดิน กล่าวคือ มีค่าการสูญเสียดินในพื้นที่ป่าไม้อยู่ด้วย แต่เนื่องจากภารกิจของ
               กรมพัฒนาที่ดินดำเนินการในพื้นที่ทำการเกษตร จึงทำการตัดพื้นที่ป่าไม้ออกเพื่อง่ายต่อการนำไปปฏิบัติงาน

                  วิธีการสร้างชั้นข้อมูลพื้นที่การสูญเสียดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย
                     1) นำเข้าข้อมูลการใช้ที่ดิน ในโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์
                     2) ทำการแยกข้อมูลทำการเกษตรกับพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย โดยให้ค่าคะแนนในตาราง กำหนดให้

               พื้นที่ทำการเกษตร = 1 พื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย = 0 จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ Raster กำหนดขนาด
               ความละเอียดชุดภาพเท่ากับ 30X30 เมตร
                     3) นำเข้าข้อมูลการสูญเสียดินที่ได้ในโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำการคูณ กับ ข้อมูลพื้นที่
               ทำเกษตรกับพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายที่กำหนดค่าคะแนนไว้ คำนวณค่าโดยใช้ Raster Calculator แล้วทำการ

               แปลงข้อมูลที่ได้จาก Raster เป็น vector
                     4) ตัดพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายออก (ตัดจากตารางที่ให้ค่าคะแนนเป็น 0 ออก) ได้ข้อมูลพื้นที่การสูญเสีย
               ดินในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตป่าไม้ตามกฎหมาย

                     5) จัดชั้นระดับการสูญเสียดินเพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการสูญเสียดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2556) กำหนด
               ปริมาณการสูญเสียดินสูงสุดที่ยอมรับได้ สำหรับในประเทศไทยเป็น 2 ตันต่อไร่ หรือเทียบเท่ากับ 0.96
               มิลลิเมตรต่อปี การสูญเสียในระดับนี้ จะไม่ทำให้สมรรถนะของดินสำหรับการเกษตรเปลี่ยนแปลงตลอด
               ระยะเวลา 25 ปี ค่าการสูญเสียดินสูงกว่าระดับนี้จะมีผลเสียหายต่อคุณภาพดินและผลผลิตพืชในระยะยาว
               ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และจำเป็นต้องมีการอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสม (ตารางภาคผนวกที่ 5)

                      การจัดชั้นความรุ่นแรงของการสูญเสียดิน จำแนกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
                      ชั้น 1  น้อย (slight) อัตราการสูญเสียดิน 0-2 ตันต่อไร่ต่อปี
                      ชั้น 2  ปานกลาง (moderate)  อัตราการสูญเสียดิน 2-5 ตันต่อไร่ต่อปี

                      ชั้น 3  รุนแรง (severe) อัตราการสูญเสียดิน 5-15 ตันต่อไร่ต่อปี
                      ชั้น 4  รุนแรงมาก (very severe) อัตราการสูญเสียดิน 15-20 ตันต่อไร่ต่อป  ี
                      ชั้น 5  รุนแรงมากที่สุด (extremely severe) อัตราการสูญเสียดินมากกว่า 20 ตันต่อไร่ต่อปี
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81