Page 64 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 64

55






                มีเนื้อที่  743,831  ไร่  ตามลำดับ  แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกษตร  พื้นที่พืชไร่และพื้นที่นาข้าวไม่มี
                ความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ชนิดพืช แต่ปัญหาของพื้นที่เหล่านี้คือการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ดังนั้น

                เกษตรกรสามารถทำการปลูกข้าวได้ต่อไป หรืออาจปรับเปลี่ยนการผลิตมาทำเกษตรผสมผสาน แต่ควรมี

                การเพิ่มเติมด้วยการปลูกพืชหลังนา ได้แก่ การปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น พืชตระกูลถั่ว ปอเทือง ถั่วพร้า ควรมี
                การใช้ปุ๋ยอินทรีย์  มีการก่อสร้างบ่อน้ำในไร่นา  ขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ  การเลือกปลูกพืชอายุสั้นใช้น้ำ

                น้อย เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา ถั่วเขียว และถั่วเหลือง  ส่วนพื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น สามารถเลือกปรับ
                ระบบการปลูกพืชตามศักยภาพและปริมาณน้ำที่มีในพื้นที่ได้  ซึ่งพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี  ทนต่อ

                สภาพแล้งได้ โดยเลือกชนิดพันธุ์พืชและช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม


                5.2  ข้อเสนอแนะ

                      5.2.1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่แล้งซ้ำซากโดยการซ้อนทับข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อให้

                มีการวิเคราะห์ข้อมูลมีความถูกต้องและใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ควรใช้ข้อมูลตัวแปรอื่น ๆ ที่
                เกี่ยวข้องและเป็นข้อมูลที่ส่งผลต่อระดับความรุนแรง เช่น ความต้องการน้ำของพืชที่ทำการเพาะปลูก

                กิจกรรมมนุษย์ เป็นต้น มาใช้วิเคราะห์ร่วมด้วยเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน เพื่อให้ข้อมูลมีความ

                ละเอียดและมีความถูกต้องมากที่สุด
                      5.2.2 ควรมีการติดตาม วิเคราะห์สาเหตุ ประเมินสถานการณ์ การสำรวจข้อมูลความเสียหาย และ

                พื้นที่การเกษตรที่รับผลกระทบจากภัยแล้งในแต่ละปี ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีการเก็บบันทึกข้อมูล สถิติการ
                เกิดภัยแล้งในทุกปี ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลและตรวจทานความถูกต้องของข้อมูลที่วิเคราะห์ออกมาได้อีกครั้ง

                      5.2.3 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการรับมือปัญหาแล้งซ้ำซากในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว จะมาก
                หรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการรับรู้ถึงสาเหตุการเกิดภัยแล้ง การเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาภัยแล้ง

                หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ

                สถานการณ์ภัยแล้ง แก่เกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ โดยผ่านสื่อต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับภัย
                แล้งให้กับเกษตรกรสามารถปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์ เพื่อลดความเสียหายของผลผลิตที่เกิดจากภัยแล้งลง

                ได้ รวมทั้งสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อวางแผนการผลิตในฤดูกาลต่อไป

                5.3  ประโยชน์ที่ได้รับ

                      5.3.1  สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง และ

                การเตือนภัยแก่เกษตรกรในการวางแผนเพาะปลูกพืชล่วงหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงและลดความสูญเสียทาง
                เศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นจากภัยแล้ง

                      5.3.2  นำไปใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน การกำหนดเขตปลูกพืช

                เศรษฐกิจ และการวางแผนการเพาะปลูกพืชให้มีความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ และตามสภาวการณ์ ซึ่ง
                จะช่วยลดผลกระทบ และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการทำการเกษตรในพื้นที่
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69