Page 63 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 63

54






                                                        บทที่ 5

                                                   สรุปผลการศึกษา



                5.1 สรุป


                      การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  และข้อมูลสำรวจระยะไกล  เพื่อปรับปรุงแผนที่พื้นที่
                แล้งซ้ำซาก  ที่ได้จากการแปลตีความภาพถ่ายดาวเทียม  มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลภัยแล้งได้แก่  ข้อมูล

                ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี 10 ปี ข้อมูลกลุ่มชุดดิน ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลดัชนีความแห้งแล้ง

                ที่เป็นปัจจัยในการเกิดสภาวะแห้งแล้ง   ทำการซ้อนทับข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์
                ตามน้ำหนักตัวแปร เพื่อกำหนดพื้นที่แล้งซ้ำซากในรอบ 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2554-2563) จากการวิเคราะห์

                พื้นที่แล้งซ้ำซาก 17 จังหวัด คือ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร

                พิษณุโลก  เพชรบูรณ์  แพร่  แม่ฮ่องสอน  ลำปาง  ลำพูน  อุตรดิตถ์  และอุทัยธานี  พบว่ามีพื้นที่แล้งซ้ำซาก
                ภาคเหนือ 17 จังหวัด มีเนื้อที่ทั้งหมด 26,965,594 ไร่ สามารถจำแนกเป็นระดับพื้นที่แล้งซ้ำซากได้ดังนี้คือ

                      1. พื้นที่แล้งซ้ำซากตั้งแต่ 6 ครั้งขึ้นไปในรอบ 10 ปี มีเนื้อที่ทั้งหมด 14,208,075 ไร่ พบมากที่

                จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเนื้อที่ 2,916,607 ไร่ รองลงมาได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ 1,958,049 ไร่ และ
                จังหวัดพิษณุโลก มีเนื้อที่ 1,360,373 ไร่ ตามลำดับ แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกษตร ควรงดหรือ

                ลดการเพาะปลูก เป็นการลดความล่อแหลม หรือสภาวะการเปิดรับต่อความเสี่ยงภัยแล้ง ส่วนใหญ่เป็น
                พื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตชลประทาน ดังนั้นกรณีพื้นที่ดังกล่าวมีการปลูกพืชที่เป็นพืชอายุปีเดียว เช่น

                ข้าว ข้าวโพด ถ้าไม่มีแหล่งน้ำสำรองควรงดการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง ส่วนพืชที่มีอายุมากกว่าหนึ่งปี
                ควรมีการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินเพื่อเป็นการเพิ่มช่องว่างในดินทำให้ดินสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ รวมถึง

                สร้างการรับรู้แก่เกษตรกรในเรื่องของภัยแล้ง เป็นการเพิ่มศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการรับมือ

                กับภัยแล้ง
                      2.  พื้นที่แล้งซ้ำซาก  4-5  ครั้งในรอบ10  ปี  มีเนื้อที่ทั้งหมด  3,929,927  ไร่  พบมากที่จังหวัด

                นครสวรรค์  มีเนื้อที่  1,220,826 ไร่  รองลงมาได้แก่  จังหวัดเชียงราย  มีเนื้อที่  643,815  ไร่  และจังหวัด

                อุทัยธานี มีเนื้อที่ 330,351 ไร่ ตามลำดับ แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกษตร ไม่ควรใช้ที่ดินในการทำ
                การเกษตรแบบพืชเดิม  ควรปรับเปลี่ยนปลูกพืชชนิดอื่นหรือการผลิตในรูปแบบหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม

                กับสภาพพื้นที่มากกว่า เช่นปรับเปลี่ยนการผลิตข้าวไปเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นที่เหมาะสม ให้สอดคล้อง

                กับศักยภาพของพื้นที่และตลาด  ร่วมกับการก่อสร้างบ่อน้ำในไร่นา  ขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ  เพื่อใช้
                ประโยชน์ช่วงในฤดูแล้ง

                      3. พื้นที่แล้งซ้ำซากไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี มีเนื้อที่ทั้งหมด 8,827,592  ไร่ พบมากที่จังหวัด
                กำแพงเพชร มีเนื้อที่ 1,035,253 ไร่ รองลงมาได้แก่ จังหวัดสุโขทัย มีเนื้อที่ 902,226 ไร่ และจังหวัดพิจิตร
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68